วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชลประทาน











ความหมายของการชลประทาน
ความหมายของคำว่า "การชลประทาน" คือ การให้น้ำแก่พืชเพื่อช่วยให้พืชได้รับน้ำเพียงพอกับความต้องการการที่เราตักน้ำไปรดต้นไม้ที่ปลูกในกระถางหรือสวนครัวชาวนาวิดน้ำเข้านาด้วยระหัด ชาวสวนวิดสาดน้ำรดต้นไม้ ชาวไร่ชาวนารับน้ำจากคลองส่งน้ำของโครงการชลประทานเข้าไปยังแปลงเพาะปลูก ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการชลประทานทั้งสิ้น กิจการชลประทานจะต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ เป็นกิจการที่บุคคลจัดทำขึ้นเพื่อนำน้ำไปใช้ และใช้น้ำนั้นเพื่อการเพาะปลูก กิจการใดที่ขาดองค์ประกอบอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แม่น้ำลำคลองแห่งใดมีน้ำล้นตลิ่งในฤดูน้ำจนไหลไปท่วมพื้นที่ข้าง ๆ แล้วเป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูกมิใช่เกิดจาการกระทำของบุคคลไม่เป็นกิจการชลประทาน กิจการประปาก็ไม่เป็นการชลประทานอีกเช่นกัน เพราะเป็นกิจการที่เราจัดทำขึ้นเพื่อนำน้ำไปใช้ทางด้านอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่แหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน

น้ำฝนเป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ปรากฏบนผิวโลก เมื่อฝนตกมาบนพื้นดินจะมีน้ำบางส่วนขังบนผิวดิน และบางส่วนซึมลงไปสะสมอยู่ในดิน ทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติในดิน ที่อำนวยประโยชน์ให้กับพืชโดยตง เมื่อมีฝนตกมากน้ำไม่สามารถขังอยู่ได้บนผิวดิน และซึมลงไปในดินได้ทั้งหมด ก็จะเกิดเป็นน้ำไหลนองไปบนผิวดิน จากนั้นจะไหลลงสู่ที่ลุ่ม ที่ต่ำ ลำน้ำ ลำธาร แม่น้ำ แล้วจึงไหลลงสู่ทะเล และมหาสมุทร ต่อไป น้ำในดินและน้ำที่ขังอยู่บนผิวดินซึ่งได้จากฝนโดยตรงนั้น จะมีอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอได้ก็ต้องอาศัยจากฝนที่ตกลงมาอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน หากฝนไม่ตกแล้วในการเพาะปลูกก็จำเป็นต้องมีน้ำจากแหล่งน้ำอื่นมาเพิ่มเติมให้โดยธรรมชาติ หรือโดยวิธีการชลประทาน พืชจึงจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอกับความต้องการ การทำงานชลประทานทุกแห่งจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับเป็นน้ำต้นทุนเพื่อจัดส่งไปยังพื้นที่เพาะปลูก ถ้าพื้นที่เพาะปลูกไม่มีแหล่งน้ำใด ๆ ให้นำมาใช้ได้ ย่อมไม่สามารถทำการชลประทานช่วยเหลือได้ หรือแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย ก็จะช่วยเหลือพื้นที่ได้น้อยด้วยเช่นกัน แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการชลประทาน ได้แก่ แหล่งน้ำบนผิวดิน และ แหล่งน้ำใต้ผิวดิน





เกษตรกรรม

มีการประมาณกันว่า ปริมาณน้ำจืดร้อยละ 70 ของโลกถูกใช้ไปเพื่อการชลประทาน ในบางส่วนของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบชลประทานเลยก็ได้ แต่ในบางพื้นที่การชลประทานมีความจำเป็นมากในการเพิ่มผลผลิตการปลูกพืชชนิดที่จะได้ราคาดี วิธีการชลประทานแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแลกกันระหว่างผลผลิตที่ได้กับปริมาณน้ำที่ใช้ รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และโครงสร้าง วิธีการชลประทานแบบปกติบางแบบ เช่นแบบยกร่องและแบบหัวกระจายน้ำด้านบนจะถูกที่สุด แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่จะไหลตามผิวและซึมลงไปในดิน หรือระเหยเสียปล่าไปมาก
วิธีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารวมถึงการชลประทานแบบน้ำหยด แบบน้ำเอ่อเป็นระลอก (Surge irrigation) และแบบหัวกระจายบางประเภทที่ใช้หัวจ่ายใกล้ระดับดิน ระบบเหล่านี้แม้จะแพงแต่ก็สามารถลดการไหลทิ้งตามผิวและการระเหยลงได้มาก ระบบชลประทานใดๆ ก็ตาม หากไม่จัดการให้ถูกต้อง ความสูญเปล่าก็ยังมีมากอยู่ดี สิ่งแลกเปลี่ยนกับการใช้ระบบชลประทานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอได้แก่การทำให้เกิดความเค็มของน้ำใต้ดิน





ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก ในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water righ)

แหล่งน้ำจืด
น้ำผิวดินได้แก่น้ำในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืด ปกติน้ำผิวดินจะได้รับการเติมจากฝนหรือหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการะเหย การไหลออกสู่ทะเลและการซึมลงไปใต้ดิน
แม้ว่าการเติมน้ำจืดโดยธรรมชาติของระบบน้ำผิวดินจะได้จากการตกของฝนหรือหิมะลงเฉพาะบนบริเวณลุ่มน้ำนั้นๆ ณ เวลาหนึ่งก็ตาม แต่ปริมาณรวมของน้ำยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงปริมาณความจุของทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อัตราการซึมของดินในพื้นที่กักเก็บต่างๆ ดังกล่าว ลักษณะของการไหลตามผิวพื้นของลุ่มน้ำ ช่วงเวลาการตกของฝนหรือหิมะและอัตราการระเหยของพื้นที่นั้นๆ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อสัดส่วนของน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล ระเหยและซึมลงใต้ดิน
กิจกรรมของมนุษย์สามารถสร้างผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้มาก มนุษย์มักเพิ่มความจุน้ำเก็บกักด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำและลดความจุน้ำเก็บกักด้วยการระบายพื้นที่ชุ่มน้ำให้แห้ง มนุษย์เพิ่มปริมาณและความเร็วไหลตามผิวของน้ำด้วยการดาดผิวพื้นต่างๆ ให้แข็งรวมทั้งการทำทางให้น้ำไหลทิ้งไปรวดเร็วขึ้น
ปริมาณโดยรวมของน้ำที่มีให้ใช้ ณ เวลาหนึ่งนับเป็นข้อพิจารณาที่มีความสำคัญมาก การใช้น้ำบางประเภทของมนุษย์เป็นการใช้แบบหยุดๆ เดินๆ ตัวอย่างเช่น การทำเกษตรกรรมหลายแห่งต้องการน้ำเป็นปริมาณมากในช่วงฤดูเพาะปลูก และไม่ใช้น้ำอีกเลยหลังฤดูเก็บเกี่ยว การจ่ายน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมประเภทดังกล่าว ระบบน้ำผิวดินเพื่อการนี้อาจต้องมีขนาดการเก็บกักที่ใหญ่เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งปีไว้ สำหรับปล่อยมาใช้ภายเวลาที่สั้นเป็นต้น การใช้น้ำประเภทที่ค่อยๆ ใช้ในปริมาณครั้งละไม่มากแต่สม่ำเสมอทั้งปี เช่นน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า การจ่ายน้ำในกรณีนี้ ระบบน้ำผิวดินต้องการเพียงอ่างหรือแหล่งกักเก็บที่มีความจุให้พอสำหรับไว้ชดเชยน้ำในลำธารที่มีอัตราการไหลเข้าอ่างในฤดูแล้งต่ำกว่าอัตราการใช้น้ำในการหล่อเย็น
น้ำผิวดินตามธรรมชาติสามารถเพิ่มพูนได้โดยการนำน้ำเข้ามาจากแหล่งในลุ่มน้ำอื่นด้วยการขุดคลองส่งน้ำหรือวางท่อส่งน้ำ หรืออาจทำด้วยวิธีอื่นๆ แต่ก็ได้ไม่มาก มนุษย์เรามีส่วนทำให้ระบบน้ำผิวดินไม่มั่นคงหรือ "หายไป" จากการสร้างมลพิษ
บราซิล เป็นประเทศที่ประมาณกันว่ามีแหล่งน้ำจืดมากที่สุดในโลกตามด้วยแคนาดาและรัสเซีย
น้ำใต้ผิวดิน

น้ำใต้ผิวดินหรือน้ำใต้ดินหมายถึงน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน และยังหมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ภายในชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ (Aquifer) ซึ่งอยู่ตำกว่าระดับน้ำใต้ดิน (water table) ในบางครั้งก็มีประโยชน์ที่จะแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง น้ำใต้ผิวดินที่อยู่ใกล้และสัมพันธ์กับน้ำผิวดิน กับ น้ำผิวดินที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ลึกมากในชั้นหินอุ้มน้ำ บางครั้งก็เรียกน้ำชนิดนี้ว่า "น้ำซากดึกดำบรรพ์" (Fossil water)
น้ำใต้ผิวดินอาจคิดเชิงคำศัพท์หมือนน้ำผิวดินก็ได้ นั่นคือ การรับเข้า (Inputs) การปล่อยออก (outputs) และการเก็บกัก (storage) นัยสำคัญของความแตกต่างก็คือ: ในแง่ของน้ำใต้ผิวดิน ที่เก็บกักมักมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการรับเข้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผิวดินที่มีขนาดเก็บกักเล็กแต่มีขนาดการรับเข้ามากกว่า ข้อแตกต่างนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้น้ำใต้ดินได้มากมาย (แบบไม่ยั่งยืน) ได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น ในระยะยาว ในที่สุดอัตราเฉลี่ยของการซึมซับของแหล่งน้ำผิวดินที่ไหลลงใต้ดิน ย่อมจะต้องช้ากว่าอัตราการสูบออกไปใช้โดยมนุษย์
การรับเข้าตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินเกิดจากการไหลซึมลงชั้นใต้ดินของน้ำผิวดิน การปล่อยออกตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เกินขนาดที่เก็บกักคือน้ำพุธรรมชาติและการไหลซึมออกสู่ทะเล
ถ้าแหล่งน้ำผิวดินมีปัญหาด้านอัตราการระเหย แหล่งน้ำใต้ดินอาจกลายเป็นน้ำเค็มได้ สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการไหลลงแอ่งต่ำใต้ดินเองหรือเกิดจากฝีมือการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรมของมนุษย์ ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล การใช้แหล่งน้ำใต้ดินของมนุษย์เองอาจเป็นเหตุให้การไหลออกทะเลโดยธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดหยุดลงและเกิดการไหลย้อนของน้ำเค็มสวนเข้าตามทางน้ำจืดเดิมก่อให้เกิดน้ำใต้ดินที่มีความเค็มได้ มนุษย์สามารถทำให้น้ำใต้ดินให้ "หาย" ไปได้ (เช่น การขาดเสถียรภาพ) เนื่องจากมลพิษ ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็สามารถเพิ่มการรับเข้าของน้ำใต้ดินได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือแก้มลิง
น้ำในดินมีลักษณะเป็นส่วนๆ เรียกว่าชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกซึมซับและไหลมารวมกันที่นี่ ปกติองค์ประกอบของมันน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำจะอยู่ในสภาวะที่เกือบเป็นการ "สมดุลอุทกสถิต" (Hydrostatic equilibrium) องค์ประกอบของน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของช่องหรือรูพรุนของหิน ซึ่งหมายความว่าอัตราการดึงหรือสูบน้ำออกมาใช้จะถูกจำกัดด้วยอัตราการซึมผ่านที่เร็ว
การกำจัดความเค็มการกำจัดความเค็ม คือกระบวนการเทียมในการทำให้น้ำเค็ม (ส่วนใหญ่คือน้ำทะเล) เปลี่ยนเป็นน้ำจืด กระบวนการกำจัดความเค็มที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ วิธีการกลั่น (distillation) และ วิธีออสโมซิสผันกลับ (reverse osmosis) การกำจัดความเค็มสำหรับการสร้างแหล่งน้ำใช้ ในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น การใช้น้ำด้วยวิธีกำจัดความเค็มของน้ำทะเลของมวลมนุษย์ในขณะนี้จึงมีสัดส่วนเศษส่วนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับแหล่งน้ำที่ใช้วิธีการอื่น ดังนั้น การทำแหล่งน้ำโดยวิธีกำจัดความเค็มจึงมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งและจำกัดการใช้เฉพาะการบริโภคในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ปัจจุบัน การผลิตแหล่งน้ำโดยวิธีนี้มากที่สุดได้แก่ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย

แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ น้ำบ่อ อ่างน้ำและเขื่อนกั้นน้ำ
เป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทั้งทางด้านอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน การเกษตร การอุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ทั้งนี้แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นยังช่วยลดปัญหาการเกิดอุทกภัยในฤดูฝนได้อีกด้วย เช่น การสร้างเขื่อน อ่าง เก็บน้ำ ฝายทดน้ำ เป็นต้น แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นจำแนกได้ดังนี้ น้ำบ่อ เป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยการขุดบ่อลงไปในดินที่เป็นบริเวณแหล่งน้ำใต้ดิน น้ำบ่อมีความลึกแตกต่างกันตามที่อยู่ของบริเวณแหล่งน้ำโดยบ่อน้ำมีความลึกอยู่ 2 แบบ คือ
1.1 บ่อน้ำใต้ดิน คือ บ่อที่ขุดเจาะลึกลงไปในบริเวณแหล่งน้ำใต้ดิน เป็นบ่อกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร ลึกประมาณ 3 -4 เมตรขึ้นอยู่กับ สภาพภูมิประเทศ
1.2 บ่อน้ำบาดาล คือ บ่อที่ขุดเจอะลงไปใต้ชั้นหินจนถึงระดับน้ำบาดาล ถ้าน้ำอยู่ลึกจะใช้วิธีฝังท่อลงไปแทนการขุดบ่อโดยใช้เครื่องสูบน้ำขึ้นมา ขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกไม่เกิน 7 เมตร


2. อ่างเก็บน้ำและเขื่อนกั้นน้ำ
อ่างเก็บน้ำ คือ แหล่งน้ำที่มีการสร้างทำนบกั้นหุบเนินให้เป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็กหรืออาจจะเกิดจากการขุดหนองน้ำให้เป็น หนองน้ำขนาดใหญ่ เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เขื่อนกั้นน้ำ คือ แหล่งน้ำที่มีการสร้างทำนบกั้นกวางลำน้ำเพื่อเก็บกักน้ำหรือทดน้ำให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมและเกิดเป็นอ่างเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ ที่ทำนบของเขื่อนจึงต้องมีช่องระบายน้ำให้ไหลออกได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก การคมนาคมทางน้ำ การบรรเทาอุทกภัย และการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
ถ้าจำแนกเขื่อนโดยลักษณะการเก็บน้ำเป็นเกณฑ์แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ เขื่อนกักเก็บน้ำ และเขื่อนระบายน้ำ

- ตัวอย่างเขื่อนกักเก็บน้ำ เช่น เขื่อนภูมิพล
- ตัวอย่างเขื่อนระบายน้ำ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา เป็นต้น

รายงานการสืบค้นข้อมูล

เรื่องผ่าวิกฤตน้ำแพรกหนามแดง


ตำบลแพรกหนามแดงตั้งอยู่ใน อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม พื้นที่ของตำบลแพรกหนามแดงมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มจึงทำให้ อาชีพในแต่ละชุมชนต่างกันไป เช่น ฝั่งน้ำมีอาชีพทำนาข้าว บ่อปลาสลิดและสวนผัก ส่วนด้านน้ำเค็มมีอาชีพทำนากุ้ง ปัญหาการขัดแย้งกันของคนน้ำจืดและน้ำเค็มเกิดขึ้นเมื่อสร้าง
เขื่อนศรีนครินทร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี มีการกักเก็บน้ำไว้ทำให้น้ำจืดที่ลงมาสู่ตำบลแพรกหนามแดงมีน้อยน้ำเค็มจึงรุกเข้าสู่พื้นที่ของน้ำจืดทำให้สวนผัก นาข้าวและสวนมะพร้าวเสียหาย จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาที่วัดประชา มีชาวบ้านมาถวายฎีกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงให้กรมชลประทานแก้ปัญหา กรมชลประทานจึงสร้างประตูระบายน้ำแบบชนิดด้านบนเป็นบานทึบ กั้นระหว่างน้ำเค็มเละน้ำจืดจากนั้นมาปัญหาของคนทั้งสองฝั่งจึงรุนแรงขึ้น เมื่อน้ำมาชาวนาก็เปิดประตูเมื่อระบายน้ำออก ทำให้ดินเลนและตะกอนก้นคลองรวมถึงแก๊สไข่เน่า ไหลออกมาทำให้กุ้ง ปูปลา ฝั่งน้ำเค็มตายแบบล้างบาง ชาวนากุ้งเอาน้ำเข้าบ่อก็ทำให้กุ้งและปลาในบ่อตายด้วย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเปิดประตูระบายน้ำชาวบ้านทั้งสองฝั่งก็จะทะเลาะกัน ต่างฝ่ายต่างพกอาวุธ
มาประจันหน้ากัน จนราชการมาจัดการให้เปิดปิดประตูน้ำในช่วง 7,8 ค่ำแต่ก็ยังเป็นปัญหาทะเลาะกันเรื่อยมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี จนเมื่อมีการทำวิจัยแบบของชาวบ้านขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการวิจัย จึงทำให้ชาวบ้านทั้งสองฝั่งน้ำ เริ่มหันหน้ามาพูดคุยถึงปัญหาของคนทั้งสอง ฝั่ง ร่วมคิด ร่วมพูดคุย ร่วมกันแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดประตูน้ำแบบบานสวิงโดยเมื่อน้ำจืดมากจะล้นออกจากบานสวิงทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น กุ้ง ปลา ก็เจริญเติบโตได้ดีคนทั้งสองฝั่งน้ำจึงสามารถยุติการทะเลาะกันได้ ทางฝั่งนาข้าวก็มีการเลิกใช้สารเคมี การทำนาจึงเป็นนาข้าที่ปลอดสารพิษจึงเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป แบบบานประตูก็เป็นแบบมาตรฐานที่กรมชลประทานให้การยอมรับเป็นอย่างดี

ผลการอภิปรายข้อมูลร่วมกัน
ได้รู้ถึงปัญหาของชุมชนในท้องถิ่นมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

แหล่งที่มาของการสืบค้นข้อมูล
วีดีทัศน์ ผ่าวิกฤตน้ำแพรกหนามแดง

ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
ปัญหา และอุปสรรคคือ
1. อาชีพของคนน้ำจืดและน้ำเค็มแตกต่างกัน
2. คนน้ำจืดและคนน้ำเค็มใช้น้ำในการประกอบอาชีพต่างกัน
3. ช่วงเวลาการเปิดปิดประตูน้ำไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้
4. คนทั้งสองฝ่ายต่างก็ใช้อารมณ์เข้าหากันและไม่ยอมคุยกันด้วยเหตุผล










ครูเอื้อ สุนทรสนาน

ครูเอื้อ สุนทรสนาน (21 มกราคม พ.ศ. 2453 - 1 เมษายน พ.ศ. 2524) เป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์เพลง อาทิ เพลงถวายพระพร เพลงวันลอยกระทง เพลงปลุกใจ เพลงสดุดี เพลงประจำจังหวัด และผู้ก่อตั้งวงดนตรีสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
ครูเอื้อได้แต่งเพลงร่วมกับแก้ว อัจฉริยกุล และท่านอื่นๆ ไว้มากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งคาดว่ามีมากกว่า
2, 000 เพลง มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น เพลงรำวงลอยกระทง เพลงรำวงเริงสงกรานต์ เพลงนางฟ้าจำแลง เป็นต้น นอกจากนั้นยังถือได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่บุกเบิกเพลงไทยสากล ครูเอื้อเคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรม ได้เสนอ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีชาติกาลเพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์การยูเนสโกก็ได้ยกย่องครูเอื้อเป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล
ชีวิตในวัยเด็ก
ครูเอื้อ สุนทรสนาน เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ณ บ้านตำบลโรงหีบ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นายดี สุนทรสนาน มารดาชื่อ นางแส สุนทรสนาน มีนามเดิมว่า "ละออ" ต่อมา บิดาให้นามใหม่เป็น "บุญเอื้อ" และได้มาเปลี่ยนอีกครั้งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น "เอื้อ" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ได้แก่
หมื่นไพเราะพจมาน (อาบ สุนทรสนาน)
นางปาน แสงอนันต์
ครูเอื้อ สุนทรสนาน
ครูเอื้อเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะในจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเข้าศึกษาได้เพียงปีเศษ ในปี พ.ศ. 2460 พออ่านออกเขียนได้ บิดาจึงพาตัวเข้ากรุงเทพมหานคร โดยให้อาศัยอยู่กับ
หมื่นไพเราะพจมาน ผู้เป็นพี่ชายซึ่งรับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ และต่อมาจึงถูกส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดระฆังโฆสิตารามจนจบชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนพรานหลวงขึ้นที่สวนมิสกวัน เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอนดนตรีทุกประเภท ครูเอื้อจึงได้ย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนนี้ โดยภาคเช้าเรียนวิชาสามัญ ภาคบ่ายเรียนวิชาดนตรี ทางโรงเรียนสอนทั้งดนตรีไทยและดนตรีฝรั่ง ครูเอื้อถนัดดนตรีฝรั่ง ครูผู้ฝึกสอนคือ ครูโฉลก เนตรสุด อาจารย์ใหญ่คือ อาจารย์พระเจนดุริยางค์
หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2465 พระเจนดุริยางค์เห็นว่า ครูเอื้อมีความสามารถพิเศษ จึงให้ครูเอื้อหัดไวโอลิน และให้หัดเป่าแซ็กโซโฟนอีกอย่างหนึ่งด้วย และให้เปลี่ยนมาเรียนวิชาดนตรีเต็มวัน ส่วนการเรียนวิชาสามัญนั้นให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้นไป
ชีวิตการทำงาน
2 ปีต่อมา ความสามารถของครูเอื้อก็ประจักษ์ชัดแด่คณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้ให้เข้ารับราชการประจำ กองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น "เด็กชา" เงินเดือน 5 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2467 กระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ในปี พ.ศ. 2469 เงินเดือนเพิ่มเป็น 20 บาท และ 2 ปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ "พันเด็กชาตรี" และ "พันเด็กชาโท" ในปีถัดไป
ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้โอนไปรับราชการสังกัดกรมศิลปากร ในสังกัดกองมหรสพ และในปี พ.ศ. 2478 หลวงวิจิตรวาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ครูเอื้อซึ่งพิสูจน์ฝีมือดนตรีจนประจักษ์ชัด เงินเดือนจึงขึ้นเป็น 40 บาท และ 50 บาทใน 2 ปีต่อมา
นอกจากนับราชการในกรมศิลปากรแล้ว ครูเอื้อ ยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับคณะละครร้อง ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น คณะของแม่เลื่อน ไวณุนาวิน ได้แต่งเพลง "ยอดตองต้องลม" ขึ้น นับเป็นเพลงในชีวิตการประพันธ์เพลง เพลงยอดตองต้องลมนี้ ครูเอื้อให้ทำนอง เฉลิม บุณยเกียรติให้คำร้อง นอกจากนี้ ในปีเดียวกันนั้นเอง ครูเอื้อได้ขับร้องเพลง นาฏนารี คู่กับนางสาววาสนา ละออ และถือว่าเป็นเพลงแรกสุดที่ได้ขับร้องบันทึกเสียงด้วย
กรมโฆษณาการ
ในปี พ.ศ. 2479 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นายพจน์ สารสิน และนายชาญ บุนนาค ร่วมกันจัดตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นชื่อว่า บริษัทไทยฟิล์ม ประเดิมภาพยนตร์เรื่องแรกคือ "ถ่านไฟเก่า" ครูเอื้อมีโอกาสเข้าบรรเลงดนตรีประกอบเพลงในภาพยนตร์เรื่องนี้และได้ร้องเพลง "ในฝัน" แทนเสียงร้องของพระเอกในเรื่อง ได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีฟิล์มด้วย
จากงานใหญ่ที่สร้างชื่อเสียง เอื้อ สุนทรสนาน จึงมีความคิดตั้งวงดนตรีขึ้นในปีถัดมา เรียกชื่อวงตามจุดกำเนิดคือ "ไทยฟิล์ม" ตามชื่อบริษัทหนัง และนี่คือการเริ่มแรกของวงดนตรีครูเอื้อ แต่หลังจากตั้งวงดนตรีได้ปีเศษ กิจการบริษัทไทยฟิล์มที่สร้างภาพยนตร์มีอันต้องเลิกกิจการไป วงดนตรีไทยฟิล์มก็พลอยสลายตัวไปด้วยจากนั้นอีก 1 ปี ทางราชการได้ปรับปรุงสำนักงานโฆษณาการ เชิงสะพานเสี้ยว และยกฐานะขึ้นเป็นกรมโฆษณาการ โดยมีนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดี นายวิลาศได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อมีสถานีวิทยุของรัฐบาลแล้ว ก็ควรจะมีวงดนตรีประจำอยู่ จึงได้นำความคิดไปปรึกษาหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ซึ่งคุณหลวงตระหนักถึงฝีไม้ลายมือของครูเอื้อและคณะอยู่แล้ว จึงได้แนะนำนายวิลาศว่า ควรจะยกวงของครูเอื้อมาอยู่กรมโฆษณาการ โดยการโอนอัตรามาจากกรมศิลปากร
และนี่คือที่มาของวงดนตรีกรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ มีครูเอื้อเป็นหัวหน้าวง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่8
ครอบครัว
ครูเอื้อพบรักกับสุภาพสตรีเจ้าของนาม อาภรณ์ กรรณสูต ธิดาพระยาสุนทรบุรี และคุณหญิงสะอิ้ง กรรณสูด เมื่อปี พ.ศ. 2480 และได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีบุตร-ธิดา ดังนี้
นางอติพร สุนทรสนาน ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานน้ำสังข์สมรสจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ ร.ต.อ. สันติ เสนะวงศ์
ตำแหน่งการทำงาน
ครูเอื้อได้นำวงดนตรีไปแสดงที่โรงภาพยนตร์โอเดียน เมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยทางโรงแรมรัตนโกสินทร์เป็นผู้จัด คุณสุรัฐ พุกกะเวส ซึ่งเป็นเลขานุการของโรงแรมเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนำวงดนตรีของราชการไปบรรเลงในโรงภาพยนตร์เอกชน จึงหารือกับครูเอื้อว่าควรจะใช้ชื่อวงดนตรีเป็นอย่างอื่น ในตอนนั้นครูเอื้อตกหลุมรักคุณอาภรณ์ จึงได้จังหวะนำนามสกุลของตนเองไปรวมกับชื่อของคนรัก ซึ่งรวมกันแล้วก็ได้ชื่อวงว่า สุนทราภรณ์
ครูเอื้อรับราชการในกรมโฆษณาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2495 กรมโฆษณาการได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมประชาสัมพันธ์ โดยดำเนินตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกบันเทิงต่างประเทศแต่เพียงตำแหน่งเดียวจนกระทั่งเกษียณในปี พ.ศ. 2514 และทางกรมประชาสัมพันธ์ได้จ้างพิเศษให้ดำเนินตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการดนตรีต่ออีก 2 ปี จนออกจากงานอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2516 และในปีนี้ ครูเอื้อเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516
ถึงแม้ครูเอื้อจะไม่ได้รับความก้าวหน้าในวงการราชการเท่าที่ควร แต่ครูเอื้อมีสิ่งสูงสุดที่บำรุงจิตใจอยู่ตลอดมาคือ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ครูเอื้อปลาบปลื้มที่สุดวันหนึ่งในชีวิตนักดนตรีก็คือ วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญรูปเสมาทองคำที่มีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันครบรอบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512
ปัจฉิมวัย
ตลอดระยะเวลา 42 ปีของการทำงาน ครูเอื้อไม่เคยพักผ่อนเลย ปกติครูเอื้อเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ทำงานหนัก และอดนอนเก่ง จนกระทั่งถึงปลายปี พ.ศ. 2521 ก็เริ่มมีอาการไข้สูงเป็นระยะ ๆ แพทย์ได้เอกซเรย์ตรวจพบก้อนเนื้อร้ายขนาดเท่าลูกเทนนิสที่บริเวณปอดด้านขวา จึงได้เริ่มการรักษา แต่ก็ยังคงทำงานตามปกติ จนถึงปลายปี พ.ศ. 2522 มีอาการทรุดหนัก จึงเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาล แล้วก็กลับไปรักษาที่บ้านต่อระหว่างที่ป่วยอยู่นั้น ครูเอื้อได้รับพระราชทานดอกไม้เยี่ยมถึง 2 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ในช่วงปี พ.ศ. 2523 ครูเอื้อได้เดินทางพร้อมกับนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และได้ขับร้องเพลงถวายเป็นครั้งสุดท้าย เพลงที่ร้องถวายคือ เพลงพรานทะเล
ตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา อาการของครูเอื้อก็ได้ทรุดลงเป็นลำดับ จนเมื่อถึงวันที่
1 เมษายน พ.ศ. 2524 ท่านก็ได้เสียชีวิตลง รวมอายุได้ 71 ปี 2 เดือน 11 วัน
ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศในฐานะศิลปินตัวอย่างผู้ประพันธ์เพลง ประจำปี พ.ศ. 2523 - 2524 แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ 4 โดยมี คุณอติพร เสนะวงศ์
(สุนทรสนาน) บุตรีเป็นผู้รับแทน
ผลงานของครูเอื้อ สุนทรสนาน
พ.ศ.2479 แต่งเพลง "ยอด ตองต้องลม" เป็นเพลงแรก และ ร้องเพลงเป็นเพลงแรกคือเพลง "ในฝัน" พ.ศ.2483 แต่งเพลงปลุกใจ เพลงแรกคือ "รักสงบ" พ.ศ.2489 บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์เป็นเพลงแรกคือ พระราชนิพนธ์ "ยามเย็น" และแต่งเพลงถวายพระพรเป็นเพลงแรกคือ "ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น" พ.ศ.2482 ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าวง นักร้อง นักดนตรี และผู้ควบคุมวง ตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2524 คือ เมื่อถึงแก่กรรม รวมเวลา 42 ปี พ.ศ.2512 ก่อตั้ง โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี พ.ศ.2518-2519 ร่วมก่อตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ผลงานเพลงที่แต่งไว้มีหลายประเภท เช่น เพลงถวายพระพร เพลงปลุกใจ เพลงสดุดี เพลงประจำจังหวัด เพลงมหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่างๆ เพลงรำวง เพลงรัก เพลงชมธรรมชาติ เพลงประกอบละครเวที ละครวิทยุ-โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ฯลฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 2000 เพลง เพลงสุดท้ายที่ร้องคือ "พระเจ้าทั้งห้า" ผลงานเพลงเกี่ยวกับเทศกาลต่างๆของไทย ซึ่งครูเอื้อได้แต่งไว้ยังคงได้รับความนิยม และถูกใช้เปิดงานตามเทศกาลต่างๆทุกปีจนเพลงเหล้านั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลไปด้วย เช่น สวัสดีปีใหม่,รำวงเริงสงกรานต์,รำวงลอยเรือ เป็นต้น ตลอดเวลา 42 ปี อยู่กับงานดนตรีมาโดยตลอด สร้างสรรค์ผลงานอมตะไว้อย่างมากมาย ได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆ จากหลากหลายสถาบัน ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ครูเอื้อได้เข้าเฝ้าและร้องเพลงถวายเป็นครั้งสุดท้าย เพลงที่ร้องถวายคือ "พรานทะเล" และตั้งแต่เดือน ธ.ค. ของปีนั้นครูเอื้อก็เริ่มมีอาการทรุดหนักจากอาการเนื้อร้ายที่ปอด ในวันที่ 1 เม.ย. 2524 ก็ถึงแก่กรรมด้วยวัย 71 ปี เอื้อ สุนทรสนาน ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศในฐานะศิลปินตัวอย่าง สาขาผู้ประพันธ์เพลง ประจำปี 2523-2524 "แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน" เป็น ครั้งที่ 4 รับพระราชทานแทนโดย คุณ อติพร เสนะวงศ์ บุตรีคนเดียว ของท่านเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2524" พ.ศ.2486 ครูสุรัฐ พุกกะเวส ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์โอเดียนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้นำวงดนตรีกรมโฆษณาการไปแสดงที่โรงภาพยนตร์โอเดียน แต่ใช้ชื่อว่า "สุนทราภรณ์" เป็นครั้งแรกเพราะเป็นงานราษฎร์ไม่ใช่งานหลวง ชื่อ "สุนทราภรณ์" นี้ ครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เพื่อนสนิทของครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้ตั้งให้ โดยนำเอาคำว่า "สุนทร" จากนามสกุล "สุนทรสนาน" มาสนธิกับคำว่า "อาภรณ์" ซึ่งเป็นชื่อของคุณอาภรณ์ กรรณสูตร ที่ครูเอื้อ สุนทรสนานหลงรักอยู่ และชื่อ "สุนทราภรณ์" นี้ เป็นชื่อที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน ใช้ในการร้องเพลงตั้งแต่พ.ศ.2480 หลังจากที่ร้องเพลงในฝัน ให้กับไทยฟิล์มมาก่อนแล้ว (เดิมใช้คำว่า "บุญเอื้อ สุนทรสนาน") ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนี้เองที่วงดนตรีสุนทราภรณ์ได้สร้างผลงานเพลงอมตะออกมาอย่างมากมายต่อเนื่องกันเรื่อยมา โดยเฉพาะผลงานเพลงจาก ขุนพลคู่ใจ ของครูเอื้อ สุนทรสนาน คือ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล จนเป็นที่กล่าวขวัญกันโดยทั่วไป "ทำนอง(ครู)เอื้อ เนื้อ(ร้อง)(ครู)แก้ว" และยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ นักดนตรีและครูเพลงที่มีส่วนช่วยให้วงดนตรีสุนทราภรณ์มีผลงานโดดเด่นมาก ได้แก่ ครูเวส สุนทรจามร,ครูสมพงศ์ ทิพยกลิ่น, ครูสริยงยุทธ,ครูเอิบ ประไพเพลงผสม, ครูแก้ว อัจฉริยะกุล, ครูสุรัฐ พุกกะเวส,ครูธาตรี(วิชัย โกกิลกนิษฐ),ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ และได้ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ,ครูพรพิรุณ มาช่วยเสริมในระยะหลังตามลำดับ ส่วนนักร้องนั้น นอกจาก รุจี อุทัยกร,มัณฑนา โมรากุล,ครูล้วน ควันธรรม,สุภาพ รัศมีทัตแล้วก็ได้
ชวลีย์ ช่วงวิทย์, สุปาณี พุกสมบุญ,วินัย จุลละบุษปะ,เพ็ญศรี พุ่มชูศรี,จันทนา โอบายะวาทย์,จุรี โอศิริ,เลิศ ประสมทรัพย์ มาร่วมทีม ตั้งแต่ปีพ.ศ.2491 เป็นต้นมา พ.ศ.2492 แต่งเพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2493 แต่งเพลงทีฆายุโกโหตุมหาราชา พ.ศ.2494 แต่งเพลงประกอบละครเรื่อง จุฬาตรีคูณ ของพนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ)

วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ.2495 พ.อ.หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจีพยัคฆ์) เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนแรก จึงเปลี่ยนชื่อวงดนตรีใหม่ว่า วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ตามชื่อของกรม และได้ พูลศรี เจริญพงษ์,วรนุช อารีย์,ศรี สุดา รัชตะวรรณและสมศักดิ์ เทพานนท์ เข้ามาเสริมทีมร้องทดแทนรุ่นแรกและรุ่นใหญ่ที่ลาออกกันไปหลายคน พ.ศ.2496 แต่งเพลงสังคีตสัมพันธ์ร่วมกับครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ พ.ศ.2497 รวงทอง ลั่นธม เข้ารับราชการเป็นนักร้องในวงกรมประชาสัมพันธ์ และสร้างชื่อเสียงมากจากเพลง จำได้ไหม ขวัญใจ เจ้าทุย ฯลฯ ในราวปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานเพลงพระมหามงคล เมื่อวงมีอายุครบ 20 ปีและได้บุษยา รังสี เข้ามาเสริมทีมอีกคนหนึ่ง พ.ศ.2507 เมื่อวงดนตรีมีอายุครบ 25 ปี ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ แต่งเพลงเพลงของเรา พ.ศ.2512 วงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุครบ 30 ปี ครูเอื้อ สุนทรสนานได้ก่อตั้งโรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีขึ้น และได้รับพระราชทานเหรียญเสมาทองคำ และธง ภปร.ประจำวงดนตรี พ.ศ.2515 ได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เพลงรักเธอเสมอ ผลงานของครูสมศักดิ์ เทพานนท์และอิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) พ.ศ.2516 ครูเอื้อ สุนทรสนาน พ้นจากตำแหน่งและงานที่กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ.2523 ครูเอื้อ สุนทรสนาน ขับร้องเพลง พรานทะเล ถวายที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์และบันทึกเสียงเพลง พระเจ้าทั้ง 5 ผลงานของครูสุรัฐ พุกกะเวส เป็นเพลงสุดท้ายในชีวิต